วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

ประวัติโรงเรียนอาเวมารีอา



โรง เรียนอาเวมารีอา เป็นโรงเรียนคาทอลิกสังกัดคณะซิสเตอร์รักกางเขนอุบลราชธานี บริหารงานโดยซิสเตอร์รักกางเขนแห่งอุบลราชธานี ตั้งอยู่เลขที่ 512 ถนนพรหมราช ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี จัดเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ทั้งหมด 5 ไร่ 3 งาน ท่ามกลางชุมชนเมือง สะดวกในการสัญจรไปมา ปัจจุบันเปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ใน ระหว่างปี พ.ศ. 2426 บาทหลวงกองสตังต์ ยัง บัปติสโปรโดม และบาทหลวงฟรังซิส มารี ซาเวียร์ เกโก ผู้เผยแพร่ ่ศาสนาคริสต์ ในเขตภาคอีสานและประเทศลาว ได้เข้าพบท่านข้าหลวงประจำจังหวัดอุบลราชธานีขออนุญาตให้ใช้สถานที่ส่วน หนึ่งในบริเวณจวนข้าหลวงเป็นที่พักและที่ทำการ ต่อมาเห็นว่าที่เดิมไม่สะดวกนัก ท่านข้าหลวงจึงได้พระราชทานที่ดินบริเวณบุ่งกาแซวให้ เพื่อสร้างเป็นบ้านพักเด็กกำพร้าและเป็นที่สอนหนังสือให้เด็กกำพร้าประมาณ20 ค นให้อ่านออกเขียนได้

ต่อ มาปี พ.ศ. 2488 ฯพณฯ เกลาดิอุสบาเยมุขนายกมิสซังอุบลราชธานีได้ประชุมคณะที่ปรึกษาของมิสซังเพื่อ วางนโยบายเกี่ยวกับการดำเนินงานมิสซังคณะที่ประชุมจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ควรเปิดโรงเรียนสักแห่งเพื่อสอนหนังสือและอบรมกุลบุตรกุลธิดาให้เขาพัฒนา เจริญก้าวหน้า คือจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งโรงเรียนอาเวมารีอา

มี ส่วนสำคัญในการจัดตั้งโรงเรียน คือ บาทหลวงศรีนวล ศรีวรกุล ผู้ช่วยผู้ปกครองมิสซังและที่ปรึกษาที่ 1 และซิสเตอร์เทแรซ ฟรังซัวส์ วิเชียร วงศ์พิมพ์ ซึ่งเป็นภคิณีคณะรักกางเขนแห่งอุบลฯซึ่งขณะนั้นเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านการ ศึกษาของคณะได้เป็นผู้ดำเนินการด้านเอกสารเพื่อขอจัดตั้งโรงเรียน ในที่สุด โรงเรียนอาเวมารีอาได้รับอนุญาตอย่าง เป็นทางการเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2490 โดยมีบาทหลวงคำจวน ศรีวรกุลเป็นเจ้าของและผู้จัดการ ซิสเตอร์แทแรซ ฟรังซัวส์วิเชียร วงศ์พิมพ์ เป็นครูใหญ่

 วันที่ 30 พฤษภาคม 2492 ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนชั้นมูลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียน 165 คน


 วัน ที่ 20 มกราคม 2496 บาทหลวงคำจวน ศรีวรกุล ย้ายไปประจำที่มิสซังท่าแร่ จังหวัดสกลนคร ซิสเตอร์เทแรซ ฟรังซัวส์ วิเชียรวงศ์พิมพ์ ได้รับตำแหน่งผุ้จัดการและครูใหญ่ โดยมีซิสเตอร์โซลังย์ อักษรไข่ เป็นเจ้าของโรงเรียน
 พ. ศ. 2502 โรงเรียนได้ขอเปิดชั้นเรียนมัธยมศึกษา 4-5 แผนกศิลป์จนถึงพ.ศ.2524จึงได้ยุบชั้นเรียนเปิดสอนเพียงชั้นอนุบาลถึงมัธยม ศึกษาปีที่ 3

 พ. ศ. 2503 ได้รับการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาลจากกระทรวงศึกษาธิการวันที่ 27 มิถุนายน 2511 ซิสเตอร์เทแรซ ฟรังซัวส์ วิเชียร วงศ์พิมพ์ ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการและครูใหญ่ ซิสเตอร์ฟีโลแมนน์ ประเทือง ภาษี ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการและครูใหญ่แทน

 วัน 31 มีนาคม 2516 ซิสเตอร์ประเทือง ภาษี ลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการและครูใหญ่เบเนดิกตาสุดใจ ศรีสมบุญ รับตำแหน่งผู้จัดการ ซิสเตอร์ลูเซียนประเสริฐ ว่องไว รับตำแหน่งครูใหญ่แทน เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2516

วัน ที่ 20 มกราคม 2496 บาทหลวงคำจวน ศรีวรกุล ย้ายไปประจำที่มิสซังท่าแร่ จังหวัดสกลนคร ซิสเตอร์เทแรซ ฟรังซัวส์ วิเชียรวงศ์พิมพ์ ได้รับตำแหน่งผุ้จัดการและครูใหญ่ โดยมีซิสเตอร์โซลังย์ อักษรไข่ เป็นเจ้าขอโรงเรียน

พ.ศ. 2502 โรงเรียนได้ขอเปิดชั้นเรียนมัธยมศึกษา 4-5 แผนกศิลป์จนถึงพ.ศ.2524จึงได้ยุบชั้นเรียนเปิดสอนเพียงชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3

 พ.ศ. 2503 ได้รับการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาลจากกระทรวงศึกษาธิการ

 วัน ที่ 27 มิถุนายน 2511 ซิสเตอร์เทแรซ ฟรังซัวส์ วิเชียร วงศ์พิมพ์ ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการและครูใหญ่ ซิสเตอร์ฟีโลแมนน์ ประเทือง ภาษี ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการและครูใหญ่แทน

 วัน 31 มีนาคม 2516 ซิสเตอร์ประเทือง ภาษี ลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการและครูใหญ่เบเนดิกตาสุดใจ ศรีสมบุญ รับตำแหน่งผู้จัดการ ซิสเตอร์ลูเซียนประเสริฐ ว่องไว รับตำแหน่งครูใหญ่แทน เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2516

 พ.ศ. 2518 ซิสเตอร์สุดใจ ศรีสมบุญ ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการ ซิสเตอร์เฟลีเซีย บุญล้อม ปั้นทอง รับตำแหน่ง ผู้จัดการแทน

 พ.ศ. 2522 ซิสเตอร์ลูเซียน ประเสริฐ ว่องไว ลาออกจากตำแหน่งครูใหญ่ ซิสเตอร์เฮลานาบุญทัน อินทนงค์ รับหน้าที่ครูใหญ่แทน

 พ. ศ. 2523 ซิสเตอร์บุญล้อม ปั้นทอง ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการ ซิสเตอร์บุญทัน อินทนงค์ดำรงตำแหน่งผู้จัดการแทนซิสเตอร์ โฮโนริน บวร จำปารัตน์ เข้าดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน

 วัน ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2529 ซิสเตอร์บวร จำปารัตน์ ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนพระกุมารร้อยเอ็ดซิสเตอร์อรนุช หอมจันทร์ เข้ารับตำแหน่งครูใหญ่แทน

 วัน ที่ 6 พฤษภาคม 2529 ซิสเตอร์โซลังย์ อักไข่ษร เจ้าของโรงเรียนได้ถึงแก่กรรม ซิสเตอร์บุญทัน อินทนงค์ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ลงนามแทน จนกระทั่นซิสเตอร์มารีย์ซาเวียทิพากร บุญประสม เข้ารับตำแหน่งเจ้าของโรงเรียนเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2530

 วัน 31 สิงหาคม 2532 ซิสเตอร์บุญทัน อินทนงค์ ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการ ซิสเตอร์โฮโนรินบวร จำปารัตน์ รับตำแหน่งผู้จัดการ

 พ.ศ. 2536 ซิสเตอร์อรนุช หอมจันทร์ ไปศึกษาต่อต่างประเทศ ซิสเตอร์โฮโนรินบวร จำปารัตน์ เข้ารับตำแหน่งผู้จัดการและครูใหญ่

 วัน 16 พฤษภาคม 2540 ซิสเตอร์โฮโนรินบวร จำปารัตน์ ไปศึกษาต่อต่างประเทศซิสเตอร์กัลยา หยาดทองคำได้รับตำแหน่งเป็นผู้จัดการและครูใหญ่ จนถึงปัจจุบัน

ตั้งแต่อดีตจนถึงบัดนี้ ถ้าจะนับกันตามการอนุญาตการจัดตั้งโรงเรียนก็นับได้ว่าโรงเรียนมีอายุครบ 50 ปีหากจะดูกันที่กำเนิดโรงเรียนจริง ๆ ก็นานกว่านั้น ตลอด 50 ปีที่ผ่านมาโรงเรียนอาเวมารีอาได้พัฒนาก้าวหน้ามาเป็นลำดับ ได้รับ ความไว้วางใจจากผู้ปกครองมาโดยตลอดทั้งนี้เพราะความร่วมแรงร่วมใจกันระหว่าง คณะผู้บริหาร คณะครูและผู้ปกครองนักเรียนตลอดจนการสนับสนุนจากชุมชนรอบโรงเรียน ได้สร้างเยาวชนของชาติให้เป็นผู้มีความรู้ความ สามารถ เพื่อเป็นกำลังสำคัญของชาติมาหลายรุ่น

สะพานเสรีประชาธิปไตย

ท่านที่ไปชมพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จังหวัดอุบลราชธานี คงจะสังเกตเห็นแผ่นป้ายคอนกรีตผิวหินล้าง ข้อความว่า "สะพานเสรีประชาธิปไตย 2497" จำนวน 4 ป้ายเรียงหน้ากระดาน ด้านทิศตะวันตก อาคารสถานพิพิธภัณฑ์ฯ ดังกล่าว ซึ่งอยู่ด้านหน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม พระอารามหลวง สะพานเสรีประชาธิปไตย ได้ถูกรื้อถอนเพราะหมดอายุการใช้งาน เกรงว่าจะเกิดอันตราย เมื่อปี พ.ศ. 2533 เหลือเพียงแต่ป้าย 4 แผ่น นำมาวางเรียงไว้ ให้อนุชนคนรุ่นหลังได้ชมเฉพาะป้ายชื่อ โดยไม่ทราบความเป็นมา หรือประวัติของสะพานแห่งนี้ เพราะกลายเป็นอดีตไปแล้ว

น.พ.บัณฑิต เชาวกุล รองประธานหอการค้า/ผอ.รพ.อุบลรักษ์ - ธนบุรี/ประธานสภาเทศบาลนครอุบลราชธานี คุณนิมิต สิทธิไตรย์ รองประธาน/เลขาธิการ/ประธานฝ่ายวารสารหอการค้าอุบลฯ และคุณสุเทพ แก้ววรสูตร บรรณาธิการ วารสารข่าว หอการค้าอุบลฯ ได้ยกเรื่องนี้ สอบถามในห้องประชุมใหญ่ ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2543 เพราะสงสัยว่า... ชื่อสะพานแห่งนี้ ทำไมพ้องกับระบอบการปกครอง (ไม่เหมือนลักษณะชื่อสะพานโดยทั่วไป) ใครเป็นคนตั้งชื่อ? และสะพานเสรีประชาธิปไตย มีประวัติความเป็นมาอย่างไร? ชาวอุบลฯ สนใจหรือพอใจชื่อสะพานแห่งนี้หรือไม่? มีการวิพากษ์วิจารณ์หรือต่อต้านอย่างไรบ้างหรือเปล่า? ผู้เขียนได้ตอบข้อสงสัยข้างต้น พร้อมกับเล่าประวัติสะพานพอสังเขป แต่ไม่จุใจ ให้เขียนบทความเกี่ยวกับสะพานแห่งนี้ จะได้รายละเอียดมากกว่า และเผยแพร่ให้ผู้สนใจได้ทราบด้วย เพื่อจะไม่เป็น "ห้องสมุดเฉพาะตัวบุคคล"



สะพานเสรีประชาธิปไตยเริ่มก่อสร้าง โดยใช้เรือปั้นจั่นขนาดใหญ่ ตอกเสาเข็มกลางแม่น้ำมูล เพื่อสร้างตอม่อและเสาสะพาน
ชาวอุบลฯ ตื่นเต้นดีใจ ใช้ภาพถ่ายเป็นบัตรอวยพรปีใหม่ 2496

เริ่มการก่อสร้างสะพาน

สังเกตจากภาพถ่าย ภาพแรกจะเห็นว่าสะพานเสรีประชาธิปไตย เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2496 ค่าก่อสร้าง แปดล้านบาทเศษ จากงบประมาณแผ่นดิน โดยกรมโยธาเทศบาล (กรมโยธาธิการในปัจจุบัน) เป็นหน่วยงานออกแบบ และควบคุมการก่อสร้าง สะพานกว้าง 9.00 เมตร ยาว 450.00 เมตร วิศวกรผู้ควบคุมงานก่อสร้างสะพานแห่งนี้ชื่อ คุณประสิทธิ์ สุทัศน์กุล (ต่อมาดำรงตำแหน่งโยธาเทศบาล จังหวัดอุบลราชธานีคนแรก และเป็นเขยเมืองอุบลฯ แต่งงานกับคุณสุเพ็ญ ทองหล่อ รองนางงามมิตรภาพ พ.ศ. 2495 บุตรสาวพันตำรวจตรี หมื่นชิต ธุรชน บ้านอยู่ที่มุมถนนพนมบรรจบกับถนนพโลชัย) บริษัท กำจรก่อสร้าง เป็นผู้รับเหมาสร้างสะพานนี้

ชาวอุบลฯ วิจารณ์การสร้างสะพาน

บริษัทผู้ก่อสร้าง ได้จัดทำหุ่นจำลอง (Model) สะพานขนาดเล็กไว้ ณ ที่ทำการชั่วคราวของบริษัท ปลายถนนอุปราชริมฝั่งแม่น้ำมูล รูปร่างลักษณะเหมือนในแบบแปลนทุกประการ แต่ย่อส่วน ชาวอุบลฯ ทั่วไปวิจารณ์เรื่องโครงสร้างของสะพานอย่างกว้างขวาง เนื่องจากโครงสร้างของสะพานข้ามแม่น้ำสายสำคัญในสมัยนั้น ส่วนบนของสะพาน จะต้องเป็นโครงเหล็ก ยึดโยงเชื่อมกันอย่างแข็งแรง ส่วนตอม่อรับพื้นสะพาน ก็ต้องเป็นแท่งคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดใหญ่โต เต็มความกว้างของสะพาน ตัวอย่างเช่น สะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ สะพานพระราม 6 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่กรุงเทพฯ สะพานนวรัฐ ที่เชียงใหม่ สะพานเดชาติวงศ์ ที่นครสวรรค์ เป็นต้น

แต่โครงสร้างของสะพานข้ามแม่น้ำมูล ที่กำลังก่อสร้างในปี พ.ศ. 2496 - 2497 ไม่มีโครงเหล็กยึดโยงเชื่อมกัน เพื่อความเชื่อมั่นในความแข็งแรง สำหรับตอม่อสะพาน ก็เป็นเพียงเสา 3 ต้น ไม่ใหญ่ไม่โตเท่าไรนัก ตั้งห่างกันเป็นระยะไม่น่าจะรับน้ำหนักตัวสะพานได้ ส่วน "คาน" ของสะพาน แทนที่จะเป็นแท่งคอนกรีตทึบ หนักแน่นมันคง แต่กลับเป็นคอนกรีตโปร่งรูปเหลี่ยม ลักษณะเหมือนลูกกรงระเบียงมากกว่าที่จะเป็นคานรับน้ำหนักของสะพาน ทางเดินเท้าก็ไม่มีเสารับ ยื่นออกจากตัวสะพานลอยๆ กลัวว่าจะหักลงมา

สรุปแล้ว สะพานข้ามแม่น้ำมูลแห่งนี้ เป็นลักษณะของสะพานข้ามคลองเล็กๆ มากกว่าจะเป็นสะพานข้ามแม่น้ำสายสำคัญ ซึ่งสะพานมีความยาว 450.00 เมตร เป็นสะพานยาวที่สุดในประเทศไทยสมัยนั้น ชาวอุบลฯ ต่างวิตก วิจารณ์กันโดยทั่วไป แม้จะได้รับการชี้แจงว่า โครงสร้างของสะพาน เป็นการออกแบบตามหลักวิชาการสมัยใหม่ แต่ก็ไม่คลายกังวล

การตั้งชื่อสะพาน

เมื่อการก่อสร้างสะพานใกล้จะแล้วเสร็จ จะต้องตั้งชื่อสะพานแห่งนี้ ก่อนที่จะมีพิธีเปิดเป็นทางการ จึงให้ชาวอุบลฯ แสดงความคิดเห็นในการตั้งชื่อสะพาน เพื่อความมีส่วนร่วม ปรากฏว่าการตั้งชื่อสะพาน แยกความคิดเห็นเป็น 3 แนวทาง

แนวทางที่ 1 กลุ่ม ส.ส. อุบลฯ สมัยนั้น มีนายยงยุทธ พึ่งพบ เป็นต้น ออกใบปลิวแจ้งว่า ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการก่อสร้างสะพานแห่งนี้คือ "พันเอกหลวงบูรกรรมโกวิท" อธิบดีกรมโยธาเทศบาล เป็นผู้สรรหางบประมาณมาก่อสร้าง ด้วยการแปรญัตติจากโครงการต่างๆ ควรตั้งชื่อสะพานนี้ว่า "บูรกรมโกวิท" หรือ "บูรกรมเนรมิต" แต่ชาวบ้านไม่เห็นด้วย เพราะเป็นเรื่องส่วนบุคคล มิใช่ส่วนรวม

แนวทางที่ 2 กลุ่มข้าราชการบำนาญ ซึ่งเป็นผู้เฒ่า ผู้แก่ของเมืองอุบลฯ ประกอบด้วย ขุนสาธก ศุภกิจ อดีตสรรพากรจังหวัด ขุนวรเวธวรรณกิจ อดีตศุภมาตราจังหวัด ขุนวรวาทพิสุทธิ์ อดีตศึกษาธิการจังหวัด ขุนอุทารระบิล อดีตปลัดเทศบาลเมืองอุบลฯ ขุนวิเลขกิจโกศล อดีตสมุหบัญชีเทศบาลเมืองอุบลฯ ชุดก่อตั้ง ได้แสดงความคิดเห็นว่า พระมหากษัตริย์ทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์ให้ทรงกรม โดยนำชื่อจังหวัดต่างๆ มาตั้งพระนามบรรดาศักดิ์หรือราชทินนาม เช่น กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา (รัชกาลที่ 7) กรมหลวงสงขลานครินทร์ (พระบรมราชชนกฯ) แต่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นจังหวัดใหญ่ เป็นหัวเมืองเอก มีชื่อว่า "ราชธานี" แห่งเดียวของประเทศ ยังไม่มีการนำชื่อจังหวัดอุบลฯ มาตั้งพระนามาบรรดาศักดิ์ หรือราชทินนาม พระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดเลย แต่ชาวอุบลฯ ภาคภูมิใจที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงตั้งพระนามสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์แรกว่า "อุบลรัตน์ราชกัญญาฯ" จึงสมควรขอพระราชทานนาม "อุบลรัตน์" มาเป็นชื่อสะพานแห่งนี้ เพื่อเป็นสิริมงคลตลอดไป (แม้ว่าพระนาม "อุบลรัตน์" จะมิได้เป็นชื่อของสะพาน ตามความมุ่งหวังของหลักชัยไม้เท้าชาวอุบลฯ แต่อีก 12 ปีต่อมา (พ.ศ. 2509) ชาวอุบลฯ ทั้งหลายก็ปลาบปลื้มใจ ที่ได้รับพระราชทานนาม "วัดศรีอุบลรัตนาราม" แทนวัดศรีทองเดิม สมควรปรารถนาตามเจตนารมย์ทุกประการ)

แนวทางที่ 3 กลุ่มคณะกรรมการหาทุนสร้างอนุสาวรีย์ "พระวอ-พระตา" และแนวร่วมต่างๆ แสดงความคิดเห็นว่า ควรตั้งชื่อสะพานนี้ว่า "สะพานพระวอ-พระตา" เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้สร้างเมืองอุบลฯ เช่นเดียวกับ สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์" สร้างเพื่อเทอดพระเกียรติสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระผู้สร้างกรุงเทพมหานคร

แนวทางตั้งชื่อสะพานทั้ง 3 แนวทาง ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างเต็มที่ แต่ยังหาข้อยุติไม่ได้ กำหนดการจะเปิดสะพานก็ใกล้เข้ามาทุกที จังหวัดจึงรวบรวมความเห็นทั้ง 3 แนวทาง ให้รัฐบาลตัดสินชี้ขาด รัฐบาลสมัยนั้น มีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี กำลังต่อสู้กับลัทธิคอมมูนิสต์ ซึ่งเป็นการปกครองระบอบเผด็จการ แต่เขาเรียกลัทธิของเขาว่า ประชาธิปไตย อีกแบบหนึ่ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงรณรงค์ให้โลกรู้ว่า การปกครองของไทย เป็นการปกครองแบบ "เสรีประชาธิปไตย" (Free -Democracy) ทุกสิ่งทุกอย่างในประเทศไทย จะต้องเป็นเสรีประชาธิปไตย เพื่อต่อต้านระบอบเผด็จการของคอมมูนิสต์ แม้แต่ชื่อสะพานก็เป็น "สะพานเสรีประชาธิปโตย"

สะพานแห่งนี้ มีการวิตกวิจารณ์กันว่า น่าจะไม่มั่นคง แต่ก็ดำรงคงอยู่คู่เมืองอุบลฯ เป็นเวลา 36 ปี จึงหมดอายุการใช้งาน ผู้เขียนได้รับเชิญร่วมพิจารณาสร้างสะพานใหม่ แทนสะพานนี้เมื่อปี 2532 ที่กรมโยธาธิการ สะพานชื่อเดิมแต่สร้างใหม่ ณ สถานที่เดิม เปิดใช้ปี 2535 ซึ่งเป็นปีที่อุบลราชธานีอายุครบ 200 ปี คู่ขนานกับ "สะพานรัตนโกสินทร์ 200 ปี" จังหวัดอุบลราชธานี เป็นที่เตือนใจว่า สะพานเสรีประชาธิปโตยเดิม แม้จะหมดสภาพไปตามอายุขัย ก็มีสะพานเสรีประชาธิปไตยใหม่ ขึ้นมาแทนที่ และจะสถิตย์สถาพรตลอดไป เช่นเดียวกับ ระบอบประชาธิปไตย คู่กับประเทศไทย

ศาลหลักเมืองอุบลราชธานี

วัดทุ่งศรีเมือง ตั้งอยู่บริเวณถนนหลวง ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ทางทิศตะวันออกของทุ่งศรีเมือง เมื่อเนื้อที่ 19 ไร่ 2 งาน 23 ตารางวา สันนิษฐานสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2356 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ในยุคสมัยสมเด็จกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์ ได้ตกลงกับเจ้าของที่ดินหลายคน ยกที่ดิน (ที่ทำนา) ให้กับทางราชการ แรกๆ ชาวเมืองเรียกว่า "ทุ่งศรีเมือง" แต่เนื่องจากทุ่งแห่งนี้ เป็นที่รวมของการจัดงานมหกรรมใหญ่ๆ เช่น งานเฉลิมพระชนมพรรษา งานรัฐธรรมนูญ เป็นต้น และเป็นทุ่งประดับเมือง จึงเรียกว่า "ทุ่งศรีเมือง"

เจ้า คุณพระอริยาวงศาจารย์ญาณวิมล อุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย หลักคำ) แห่งวัดป่าแก้วมณีวัน คือวัดมณีวนาราม ในปัจจุบัน ท่านมีอัธยาศัยน้อมไปทางวิปัสสนากรรมมัฎฐาน ซึ่งท่านก็ได้มา เจริญสมณะธรรม อยู่พื้นหญ้า ป่าหว้าชายดงอู่ผึ่ง ชายเมืองอุบลราชธานี เพราะเป็นที่สงบสงัด จึงได้มาเจริญสมณะธรรมอยู่บ่อยๆ ที่นั่นคือ บริเวณวัดทุ่งศรีเมืองในปัจจุบันนั้นเอง ภายหลังลูกศิษย์ของท่าน ก็ได้ตามออกมาเจริญกรรมัฏฐานเป็นจำนวนมาก

ต่อมาภายหลังจึงได้สร้างหอพระพุทธบาทขึ้น ณ ท่ามกลางบริเวณที่เจริญสมณะธรรม โดยมีจุดประสงค์ที่จะจำลองพระพุทธบาท จำลองให้คนได้กราบไหว้ของพุทธบริษัทที่อุบลราชธานี ไม่ต้องเดินทางไปที่สระบุรี โดยให้ครูช่างชาวเวียงจันทน์ เป็นช่างดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งมีความกว้าง 6 เมตร ยาว 13 เมตร หลังคาทรงไทยศิลปะเวียงจันทร์ ต่อมาได้พูนดินบริเวณลานหอพระพุทธบาท เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมในฤดูฝน โดยได้สร้างเป็นเขื่อนกำแพงแก้วหอพระพุทธบาท มีสองชั้นรอบๆพระพุทธบาท ขนาดกว้าง 23 เมตร ยาว 32 เมตร พูนให้สูงเหมือนเป็นฐานรองรับหอพระพุทธบาท โดยได้ขุดเอาดินมาจาดสระด้านทิศเหนือ ซึ่งมีขนาดกว้าง 13 เมตร ยาว 24 เมตร ลึก 3 เมตร ซึ่งสระนี้ ต่อมาภายหลังได้สร้างหอไตรไว้กลางน้ำ จึงได้ ซื่อว่า "สระหอไตร"

เมื่อขุดหอไตรแล้ว ปรากฎว่า ดินที่จะนำมาพูนหอพระบาทยังไม่พอ ก็ได้ขุดสระอีก 1 สระทางด้านทิศตะวันตกของวัด สระนี้เรียกว่า "สระหนองหมากแซว" เพราะมีต้นหมากแซวใหญ่ต้นหนึ่งอยู่ข้างสระ ซึ่งสระนี้ขุดลึกประมาณ 3 เมตร กว้างและยาวพอๆ กับสระหอไตร

เมื่อนำดินจากทั้ง 2 สระมาพูน จนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ปลายสมัยหลวงปู่พระครูวิโรจน์รัตนโนบล เป็นจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมือง ได้ปูกระเบื้องซีเมนต์ที่ลานหอพระบาทและได้สร้างกำแพงแก้ว ล้อมรอบที่ซุ้มประตูด้านทิศเหนือ, ใต้และทิศตะวันตก ส่วนทางทิศตะวันออก ได้สร้างภายหลัง และทางด้านทิศตะวันออก พระครูราชโนบล ได้สร้างให้มีขนาดใหญ่ที่สุด เพราะเป็นทางเข้าและอยู่หน้าหอพระบาท ซึ่งหอพระบาทนี้มีขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 12 เมตร ซึ่งได้จำลองมาจากวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร

เมื่อสร้างหอพระพุทธบาทสร้างแล้ว ก็ได้สั่งให้ญาคูช่าง สร้างหอไตรที่สระกลางน้ำ โดยมีจุดประสงค์ในการสร้าง เพื่อเป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก ไม่ให้แห้งและกรอบมากเกินไป เพราะอากาศสดชื่น มีไอน้ำประสม และเพื่อกันปลวก มิให้ทำลายพระไตยปิกฎให้เสียหาย แต่ปัจจุบัน ก่อนที่พระราชรัตนโนบลมาปกครองวัด พระไตรปิฎกได้สูญหายไปแล้ว

เมื่อได้สร้างหอพระพุทธบาทและหอไตรกลางน้ำเสร็จแล้ว เพื่อให้มีคนเฝ้ารักษาวัด คือได้สร้างกุฎิเป็นที่อยู่ของพระภิกษุและสามเณรต่อไป เพราะวัดนี้ตั้งอยู่ปลายทุ่ง ท่ามกลางเมืองอุบลราชธานี จึงได้ชื่อว่า ทุ่งศรีเมือง เป็นเหตุให้ทุ่งนาท่ามกลางเมืองอุบลราชธานี ได้ชื่อว่าทุ่งศรีเมืองตามไปด้วย

เมื่อ พ.ศ.2458 พระครูวจีสุนทร เจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ ท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล เป็นเจ้าอาวาส ได้พาพระเณร ไปทำพลับพลา ตัดเสาศาลาการเปรียญที่คำน้ำแซบ วัดวารินทรารามในปัจจุบัน สมัยนั้นมีแต่ป่า ยังไม่มีบ้านเรือนคน และค่ายทหาร แต่เมื่อตัดเสาได้แล้ว ก็สร้างล้อลากลงแม่น้ำมูลข้ามมาสร้างศาลาการเปรียญ โดยในวันไหนมีการล่องมูล จะให้ชาวบ้านที่หาปลา หรือคนที่อยู่แถวนั้นมาช่วย เพราะเสาต้นใหญ่มาก บางวันต้องใช้กลองยาวตีเร้าใจ เพื่อให้จังหวะครั้นลากเสามาถึงวัดแล้ว ก็จัดแจงตกแต่งศาลาการเปรียญ ครั้นเตรียมการเสร็จแล้ว ก็ได้ป่าวประกาศเชิญชวนทำบุญปลูกศาลาการเปรียญ ยกศาลาและสร้างต่อจนเสร็จ

เมื่อสร้างศาลาการเปรียญเสร็จแล้ว วัดเหนือท่าร้าง ทางราชการจะสร้างเป็นสถานีอนามัย พระเจ้าใหญ่ในศาลาการเปรียญวัดเหนือท่า ไม่มีพระสงฆ์อยู่ดูแล พระครูวิโรจน์รัตโนบล จึงได้นำญาติโยมไปอาราธนา มาเป็นพระประธานที่ศาลาการเปรียญวัดทุ่งศรีเมือง

สิ่งก่อสร้างสำคัญในวัดทุ่งศรีเมือง

1. พระอุโบสถ หรือหอพระพุทธบาท มัก จะถูกเรียกว่า หอพระพุทธบาท เนื่องจากสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐาน รอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งท่านเจ้าคุณพระอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาฏิโมกข์(สุ้ย หลักคำ) เจ้าคณะเมืองอุบลในขณะนั้น ได้จำลองการสร้างมาจากวัดสระเกศราชวรวิหาร กรุงเทพฯ โดยมีช่างจากเวียงจันทน์เป็นช่างสำคัญในการสร้าง

ลักษณะของหอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรีเมือง เป็นสถาปัตยกรรมผสมผสาน ระหว่างศาสนาคารอีสานพื้นบ้านกับเมืองหลวง คือโครงสร้างช่วงล่าง เช่น ฐานเอวขัน บันไดจระเข้ เฉลียงด้านหน้าคงเอกลักษณ์ของสิมอีสานไว้แต่โครงสร้างช่วงบน หลังคาทรงจั่วมีชั้นลด 2 ชั้น รวยลำยองมีช่อฟ้า ใบระกา นาคสะดุ้ง หางหงส์ ทวยและซุ้มประตูหน้าต่างแบบเมืองหลวง ส่วนลวดลายหน้าบันสาหร่ายรวงผึ้ง มีลักษณะเป็นแบบอีสานผสมกับเมืองหลวงเหมือนสิมวัดแจ้ง

ในสมัยพระครูวิโรจน์รัตนโนบล เป็นเจ้าอาวาส ได้มีการซ่อมหอพระบาทครั้งหนึ่ง โดยการเอาเสามายันขื่อ ซ่อมคร่าวและวาดลวดลายที่เสา ด้านหลังมีการก่ออิฐเป็นอาคารเสริมออกมายันไว้ เพราะกลัวอาคารจะโย้ออกมา

ต่อมา ปี 2503 มีการบูรณะอีกครั้งหนึ่ง ภายในผนังมีจิตรกรรมผาผนังที่มีคุณค่า โดยเป็นจิตรกรรมฝาผนัง เขียนเป็นภาพเทพชุมนุม พุทธประวัติ ตอนผจญมาร และปรินิพพาน ภาพชาดก ได้แก่ ปาจิตต์กุมารชาดก และมหาเวชสันดรชาดกกัณฑ์ต่างๆ ภาพจิตกรรมเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นสภาพสังคม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความเจริญของบ้านเมือง การประกอบอาชีพ การละเล่น พิธีกรรม การแต่งกาย ทรงผม นอกจากภาพชาวบ้านพื้นถิ่นอีสานและคนลาวแล้ว ยังแสดงภาพชาวตางชาติ ทั้งจีน ฝรั่ง แขก ซึ่งเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยสมัยนี้อีกด้วย

2. หอไตรกลางน้ำ วัดทุ่งศรีเมือง สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าพรหมราชวงศา (กุทองสุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานี คนที่ 3 ตามเอกสารระบุว่า ท่านเจ้าคุณอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย หลักคำ) เจ้าคณะเมืองอุบลราชธานี ซึ่งพำนักอยู่ที่วัดมหาวนาราม(วัดป่าใหญ่) เป็นผู้อำนวยการสร้าง โดยวัตถุประสงค์ในการสร้างคือ เพื่อเก็บรักษาพระไตรปิฏก ป้องกันไม่ให้ มดปลวกไปทำลาย ซึ่งช่างที่มีชื่อเป็นช่างควบคุมการก่อสร้าง เท่าที่มีชื่อระบุไว้ ได้แก่ ญาครูช่าง ซึ่งเป็นช่างหลวงจากราชสำนักร่วมก่อสร้างด้วย

ลักษณะของหอไตรวัดทุ่งศรีเมือง เป็นหอน้ำ สร้างอยู่กลางสระน้ำ เป็นอาคารเรือนไม้ขนาดกว้าง 8.20 เมตร ยาว 9.85 เมตร สูงจากระดับพื้นน้ำถึงถึงยอดหลังคาประมาณ 10 เมตร แปลน รูป สี่เหลี่ยมจตุรัส ยกพื้นสูงใต้ถุนโปร่ง ผนังเป็นแป้นฝาไม้แบบเรียบ เครื่องสับฝาแบบฝาประกนอย่างเรือนไทยภาคกลาง ลูกฝักรองตีนช้างแกะสลักลายประตูเข้าหอไตร อยู่ทางทิศตะวันออกประตูเดียว มีหน้าต่างโดยรอบทั้งหมด 14 ช่อง หลังคาทรงจั่วมีปั้นกรอบ ปีกนอกกว้าง 2 ชั้น (คล้ายสถาปัตยกรรมเชียงรุ้ง) ส่วนบนหลังคาทรงแบบโบสถ์ไทยมีชั้นลด 2 ชั้น ช่อฟ้ารวยลำยอง ใบระกา นาคสะดุ้งและหางหงส์แบบภาคกลาง หน้าบันไม้จำหลักลายแบบไทย(ลายดอก) พุดตาน,ลายกระจังรวน,ลายประจำยามก้ามปู ฯลฯ เดิมมุงแป้นไม้มีทวยสลักด้วยไม้ค้ำยันชายคาปีกนอกโดยรอบจำนวน 19 ตัว 2 ตัว ด้านด้านหน้าข้างประตูเข้า สลักหัวทวยเป็นเทพพนมอีก 17 ตัวเป็นรูปพญานาค

ภายในตัวเรือนชั้นใน ตรงกลางกั้นผนังเป็นห้องสำหรับเก็บพระไตรปิฎก มีบันไดทางขึ้นด้านทิศตะวันออก ทำประตูหน้าต่างล้อกับภายนอก ผนังห้องด้านนอกตกแต่งลวดลายไทย ลงรักปิดทองแบบที่เรียกว่า "ปิดทองลายฉลุ"(ลายแบบปิด)โดยทำแบบพิมพ์ลายลุ (Stencil) จากการรุกระดาษสาให้เป็นตัวลายหรือตัวภาพ แล้วนำไปทาบบนผนังที่เตรียมลงพื้นรักชาดไว้เรียบร้อยแล้ว ลงรักเช็ดตามรอยปรุ จากนั้นจึงปิดแผ่นทองคำเปลวตามลายปรุที่ลงรักเช็ดไว้ เมื่อเสร็จแล้วจะปรากฎเป็นลายพลายคำสุกอร่ามบนพื้นแดงชาด ทำคล้ายมีเรือนหลังเล็กๆสร้างประตู 1 บาน และหน้าต่าง 4 กรอบหน้าต่างสลักลวดลาย ผนังและบานประตูหน้าต่างสลักลวดลาย ผนังและบานประตูหน้าต่าง เขียนลายลงรักปิดทอง โดยรอบบานประตูเขียนรูปทวารบาล

หอไตรวัดทุ่งศรีเมือง ได้รับการบูรณะครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2508 ในสมัยพระครูวิโรจน์รัตโนบล ด้วยการหาเสาไม้เนื้อแข็ง มาค้ำยันช่วยแรงเสาเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมผุกร่อน ต่อมา พ.ศ.2517 กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะครั้งใหญ่ โดยเปลี่ยนเป็นปูนแทน เสริมฐานเสาด้วยปูนให้มั่นคงมากขึ้น เมื่อทำการอนุรักษ์เรียบร้อยแล้ว ในปี พ.ศ.2527 อาคารหลังนี้ ได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีด่น จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามมงกุฎราชกุมารี

ปัจจุบันนี้ หอไตรกลางน้ำวัดทุ่งศรีเมืองแห่งนี้ เป็นที่เก็บหนังสือใบลานประเภทต่างๆ ไม่เฉพาะหนังสือธรรมะเท่านั้น หากยังมีหนังสือที่บันทึกประวัติศาสตร์ และตำนานของบ้านเมืองเอาไว้อีกด้วย ซึ่งหนังสือเหล่านี้เป็นแหล่งค้นคว้าสำคัญที่ทำให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาในหลายๆ ด้าน เช่น ความสัมพันธ์กับชุมชนอื่นและความเชื่อ ความศรัทธาของคนสมัยนั้น

ไขข้อพิศวง พระเจ้าใหญ่องค์เงิน วัดทุ่งศรีเมือง
พระ เจ้าใหญ่องค์เงิน ที่ประดิษฐานอยู่ที่หอพระบาท วัดทุ่งศรีเมือง ถูกปูดปิด ทับและทาทองทั่วทั้งองค์ มานานกว่าสองร้อยปี จนภายหลังพบว่าทั้งองค์เป็น เนื้อเงิน จึงเป็นที่มาของการไขปริศนาว่า

ปลาหางนกยูง

ปลาหางนกยูง
ปลาตัวผู้
ปลาตัวผู้
ปลาตัวเมีย
ปลาตัวเมีย

ปลาหางนกยูง (Guppy) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Poecilia reticulata ในวงศ์ปลาสอด (Poeciliidae) เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 5 นิ้ว มีจุดเด่นคือครีบหางที่มีขนาดใหญ่ ตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกันจนเห็นได้ชัด กล่าวคือ ตัวผู้มีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามาก แต่มีสีสันและครีบที่สวยงามกว่า ขณะที่ตัวเมียตัวใหญ่กว่า ท้องอูม สีสันและครีบเครื่องเล็กกว่า

มีการกระจายพันธุ์บริเวณทวีปอเมริกากลางจนถึงอเมริกาใต้ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดจนถึงน้ำกร่อยที่มีกระแสน้ำไหลเอื่อย ๆ เป็นปลาอาศัยอยู่รวมเป็นฝูง หากินบริเวณผิวน้ำ โดยกินทั้งพืชและสัตว์น้ำรวมถึงแมลงหรือตัวอ่อนแมลงขนาดเล็กด้วย

ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นปลาสวยงาม ในประเทศไทยได้มีการนำเข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยนิยมเลี้ยงกันในอ่างบัว เพราะเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายมาก มีสีสันสวยงาม สามารถเลี้ยงรวมกันเป็นฝูงได้ จากการเป็นปลาผิวน้ำและเป็นปลาขนาดเล็ก ทำให้การเลี้ยงปลาหางนกยูงในอ่างบัว ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องให้ออกซิเจนเหมือนปลาชนิดอื่น ๆ อีกทั้งการแพร่ขยายพันธุ์ก็กระทำได้ง่ายมาก เนื่องจากเป็นปลาที่ปฏิสนธิภาย ในตัว และออกลูกเป็นตัว โดยปลาตัวเมียเมื่อได้รับการผสมแล้วจะสามารถให้ลูกไปได้ราว 2-3 ครอก ซึ่งการขยายพันธุ์ก็เพียงแค่จับปลาตัวผู้และตัวเมียมาเลี้ยงไว้รวมกันก็ สามารถให้ลูกได้แล้ว โดยปลาที่มีความพร้อมที่จะขยายพันธุ์จะมีอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป

ปัจจุบัน ปลาหางนกยูงได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์ให้มีสีสันและลวดลายรวมทั้งขนาดลำตัวให้แตก ต่าง สวยงามไปจากพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติเยอะมาก มีหลายสายพันธุ์ เช่น ทักซิโด้, กร๊าซ, คอบร้า, โมเสค , หางดาบ, นีออน เป็นต้น

จากความเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ง่าย ทำให้กระทรวงสาธารณสุขได้รณรงค์ให้คนไทยเลี้ยงปลาหางนกยูงไว้ในภาชนะที่ใส่น้ำในบ้านเพื่อกินลูกน้ำและยุงเพื่อเป็นการป้องกันโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากยุง โดยเรียกว่า "ปลากินยุง" และในปัจจุบัน ปลาหางนกยูงได้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นชนิด หนึ่งในประเทศไทยไปแล้ว มีการพบในแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไปปะปนกับปลาขนาดเล็กพื้นเมืองทั้งหลาย ซึ่งปลาหางนกยูงส่วนใหญ่ในธรรมชาติที่พบนั้น จะมีลำตัวใส ไม่มีลวดลายทั้งนี้เนื่องจากเป็นผลจากการผสมภายในสายเลือดเดียวกัน

ปุ๋ยเคมี

เราซื้อปุ๋ยเคมี เพราะเราต้องการนำธาตุอาหารที่มอยู่ในปุ๋ยนั้นให้แก่พืช ปุ๋ยเคมีจะมีธาตุอาหารพืชอยู่มากน้อยเท่าใด ดูได้จากตัวเลขบนกระสอบปุ๋ย ซึ่งเรียกว่า สูตรปุ๋ย

สูตรปุ๋ย ประกอบด้วยตัวเลข ค่า มีขีดขั้นระหว่างตัวเลขแต่ละค่า เช่น 16-16-8 เป็นต้น ตัวเลขแต่ละค่าจะแทนความหมายดังนี้

- ตัวเลขค่าแรกคือ 16 แทนเนื้อธาตุไนโตรเจนแสดงว่า ในปุ๋ยจำนวน 100 กิโลกรัมจะมีเนื้อธาตุไนโตรเจน 16 กิโลกรัม

- ตัวเลขต่อมาคือ 16 แทนเนื้อธาตุฟอสฟอรัส แสดงว่าในจำนวน 100 กิโลกรัมจะมีเนื้อธาตุฟอสฟอรัส 16 กิโลกรัม

-ตัวเลขสุดท้ายคือ 8 แทนเนื้อธาตุโพแทสเซียม แสดงว่าในปุ๋ยจำนวน 100 กิโลกรัมจะมีเนื้อธาตุโพแทสเซียม 8 กิโลกรัม

ปุ๋ยปลอม

ปุ๋ยปลอม คือปุ๋ยที่มีธาตุอาหารพืชไม่ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณที่ระบุไว้บนกระสอบ เช่น ปุ๋ยสูตร 16-16-8 ถ้าวิเคราะห์แล้วมีธาตุไนโตรเจนไม่ถึง 14.4 เปอร์เซ็นต์ (14.4 = 90 เปอร์เซ็นต์ของ 16) เนื้อธาตุฟอสฟอรัสไม่ถึง 14.4 เปอร์เซ็นต์ (14.4 = 90 เปอร์เซ็นต์ของ 16) หรือเนื้อธาตุโพแทสเซียมไม่ถึง 7.2 เปอร์เซ็นต์ (7.2 = 90 เปอร์เซ็นต์ของ 8) อย่างใดอย่างหนึ่ง แสดงว่าปุ๋ยสูตรนี้เป็น ปุ๋ยปลอม

ถ้าปุ๋ยกระสอบใด มีปริมาณเนื้อธาตุมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ครบปริมาณที่ระบุไว้บนกระสอบแสดงว่าปุ๋ยกระสอบนั้นเป็นปุ๋ญเคมีผิดมาตรฐาน

วิธีเก็บตัวอย่างปุ๋ย

การเก็บตัวอย่างปุ๋ยมีวิธีการปฏิบัติดังนี้

    1. เทปุ๋ยทั้งกระสอบลงบนผ้าพลาสติกที่แห้งสะอาดคลุกเคล้าให้ปุ๋ยเข้ากันเป็นอย่างดี
    2. ใช้แผ่นไม้แบ่งปุ๋ยออกเป็น 4 ส่วน
    3. นำปุ๋ย 2 ส่วนที่อยู่ตรงกันข้ามมาคลุกเคล้ากันใหม่และแบ่งอออกเป็น 4 ส่วนอีกครั้งหนึ่ง
    4. ทำซ้ำข้อ 3 จนเห็นว่าเมื่อแบ่งปุ๋ยออกเป็น 4 ส่วนแล้ว แต่ละส่วนหนักประมาณ 1 กิโลกรัม ตักปุ๋ย 1 ส่วน ใส่ในถุงพลาสติกที่แห้งและสะอาด
    5. เขียนรายละเอียดของตัวอย่างปุ๋ย ได้แก่ สูตร ตราเลขทะเบียน ผู้ผลิตหรือผู้นำส่ง สถานที่ผลิต ใส่ถุงพลาสติกเล็กๆ แล้วใส่ลงในถุงตัวอย่างปุ๋ยพร้อมรัดปากถุงให้แน่น
    6. ส่งตัวอย่างปุ๋ยไปยัง สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดเพื่อตรวจสอบต่อไป

การตรวจปุ๋ย

ปุ๋ยปลอมตรวจสอบได้ยากมากด้วยตาเปล่า หรือเพียงการสัมผัส การตรวจสอบที่ให้ได้ผลแน่นอนต้องทำโดยวิธีการทางเคมีในห้องปฏิบัติการ

เครื่องมือตรวจสอบปุ๋ยปลอมอย่างง่ายสำหรับการตรวจสอบในภาคสนามนั้น ใช้สำหรับการตรวจสอบเบื้องต้นเท่านั้น ให้ผลเพียงคร่าวๆ และไม่สามารถนำผลการตรวจสอบมาใช้เพื่อดำเนินคดีทางกฎหมายได้

เมื่อสงสัยว่าเป็นปุ๋ยปลอม ควรเก็บตัวอย่างปุ๋ยตามวิธีการที่แนะนำอย่างเคร่งครัด แล้วส่งไปยังสำนักงานเกษตรอำเภอหรือสำนักงานเกษตรจังหวัด ในท้องถิ่นเพื่อส่งให้ห้องปฏิบัติการตรวจสอบต่อไป

คำแนะนำในการเลือกซื้อปุ๋ย

ในการเลือกซื้อปุ๋ยมีคำแนะนำดังนี้

1.ก่อนซื้อควรปรึกษาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเพื่อตัดสินใจว่า ควรจะซื้อปุ๋ยสูตรใด ตราใด จำนวนเท่าใด

2. ควรซื้อโดยการรวมกลุ่มกันซื้อจากบริษัทที่ไว้ใจได้ โดยให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้ประสานงานให้

3. หากจำเป็นต้องการซื้อรายย่อย ควรดำเนินการดังนี้

3.1 บอกสูตร ตรา และจำนวนที่ต้องการแก่ผู้ขาย

3.2 ตรวจสอบข้อความบนกระสอบปุ๋ยว่าเป็นปุ๋ยชนิดใดต้องการหรือไม่

3.3 ตรวจสอบสภาพกระสอบว่า ใหม่และเรียบร้อยไม่มีรอยฉีกขาด หรือรอยเย็บใหม่

3.4 ตรวจสอบดุว่าแต่ละกระสอบมีน้ำหนักครบ 50 กิโลกรัมหรือไม่

3.5 ขอเอกสารกำกับปุ๋ย และใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายด้วย

โทษของการผลิตและการจำหน่ายปุ๋ยปลอม

การผลิตหรือจำหน่ายปุ๋ยเคมีปลอม มีโทษทั้งจำทั้งปรับดังนี้

มาตรา 62 ” ผู้ใดผลิตปุ๋ยเคมีปลอมอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 30 (1) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปีและปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท

มาตรา 63 ” ผู้ใดขาย หรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งปุ๋ยเคมีปลอมอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 30 (1) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปี ถึง สิบปี และปรับตั้งแต่ สามหมื่นบาท ถึง หนึ่งแสนบาท

ปุ็๋ยชีวภาพ



น้ำ หมักชีวภาพเมื่อนำไปใช้ในด้านกสิกรรม จะช่วยปรับสภาพความเป็น กรด - ด่างให้เป็นกลางในดินและน้ำ ช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืช และโรคระบาดต่าง ๆ ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำ และให้อากาศผ่านได้อย่างเหมาะสมช่วยย่อยสะลายอินทรีย์วัตถุให้เป็นอาหารของ พืช พืชจะดูดซึมไปใช้ได้เลย และช่วยให้ผลผลิตคงทน มีคุณภาพสูง สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานเมื่อนำน้ำหมักชีวภาพไปใช้ทางการประมง จะช่วยปรับสภาพน้ำให้เป็นกลางควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กุ้ง กบได้ และช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้

ถ้านำไปใช้ในด้านปศุสัตว์จะทำให้มูลสัตว์ไม่มีกลิ่นเหม็น สุขภาพของสัตว์จะแข็งแรงและปลอดโรค คอกสัตว์จะไม่มีกลิ่นเหม็น ช่วยบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มปศุสัตว์ ทำให้อัตราการตายต่ำลง และผลผลิตสูงขึ้น

เมื่อนำน้ำหมักชีวิภาพไปประยุกต์ใช้ในด้านรักษาสิ่งแวดล้อม จะช่วยกำจัดกลิ่นและย่อยสลายตะกอนในส้วม ทำให้ส้วมไม่เต็ม ทำความสะอาดพื้นห้องการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชน และสถานประกอบการทั่ว ๆ ไป ปรับสภาพอากาศภายในห้องนอน ห้องรับแขก ห้องครัว ให้สดชื่นกำจัดกลิ่นอับชื้นต่าง ๆ ได้นอกจากนี้ยังให้ฉีดพ่นกองขยะเพื่อลดกลิ่นและปริมาณของกองขยะให้เล็กลงรวม ทั้งจำนวนแมลงวันด้วย



ส่วน ทางด้านการแพทย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับสุขภาพพลานามัย การเจ็บไข้ได้ป่วยและการตายก่อนวัยอันสมควร ก่อนอายุขัย น้ำหมักชีวภาพจะช่วยผลิตอาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ซึ่งจะทำให้อาหารนั้นเป็นยารักษาโรคไปพร้อม ๆ กันซึ่งจะลดการเจ็บไข้ได้ป่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค
ป้องกันการตายก่อนอายุขัยได้
เกี่ยวกับปัญหาความยากจนและหนี้สินของเกษตรกรนั้นน้ำหมักชีวภาพจะเข้ามาแทน ที่ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลงและเชื้อโรคต่าง ๆ จะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง 4 -16 เท่า และผลผลิตจะสูงขึ้น 3 - 5 เท่า ภายใน 3 -5 ปี จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นมาก และรายจ่ายน้อยลงมากในที่สุดปัญหาความยากจนและหนี้สินก็จะหมดไปภายในเวลาไม่ เกิน 6 ปี
ทางด้านการทะเลาะวิวาทบาดหมางกันระหว่างเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงนั้นจะหมด ไปเองเพราะไม่มีกลิ่นและมลภาวะไปรบกวนซึ่งกันและกันอีกทั้งฐานะก็ใกล้เคียง กันคืออยู่ดีกินดี มั่งมี ศรีสุข เนื่องจากหมดหนี้สิน




การทำการประยุกต์ใช้น้ำหมักชีวภาพ
--------------------------------------------------------------------------------
ถ้าเรานำหัวเชื้ออีเอ็ม (EM) หรือหัวเชื้อกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (Effective Microorgarnisms) มาใช้โดยตรงจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูงโดยไม่มีความจำเป็นและได้จุลินทรีย์ที่ มีความแข็งแรงน้อยกว่านำไปขยายเสียก่อนจึงใช้
วิธีการขยาย อีเอ็ม (EM)
อีเอ็ม (EM) 1 ส่วน + กากน้ำตาล 1 ส่วน + น้ำสะอาด 20 ส่วน หมักไว้ในภาชนะที่มีผาปิดมิชิดอย่าให้อากาศเข้าได้เป็นเวลา 7 วัน แล้วนำมาใช้ให้หมดภายใน 7 วัน เช่นเดียวกับวิธีการใช้ อีเอ็ม (EM)
การรักษา อีเอ็ม (EM)
เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส - 45 องศาเซลเซียส (อย่าเก็บในตู้เย็น) โดยปิดฝาให้สนิทอย่าให้อากาศเข้าได้ ถ้าเปิดใช้แล้วต้องรีบปิดทันที เก็บรักษาไว้ได้ประมาณ 6-8 เดือน หรือมากกว่านั้น
วิธีการใช้ อีเอ็ม (EM) และ อีเอ็ม (EM) ขยายแล้ว
1. การกสิกรรม
ใช้อีเอ็ม (EM) หรือ อีเอ็ม (EM) ขยายผสมน้ำ 1:1000 เท่า (อีเอ็ม 1ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 10 ลิตร) ฉีดพ่นรดพืชผักสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง แทนปุ๋ยเคมี
2. การประมง
2.1 ใช้อีเอ็มขยายใส่บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ (ปลา กุ้ง กบ ตะพาบน้ำ จระเข้) ในอัตราส่วน 1:1000 เท่า (อีเอ็มขยาย 1 ลิตร ต่อน้ำในบ่อ 10 ลูกบาศก์เมตร) ทุก ๆ 7-10 วัน เพื่อป้องกันน้ำเน่าเสีย
2.2 ใช้อีเอ็มขยายคลุกอาหารสัตว์น้ำก่อนให้กินประมาณ 4 ชั่วโมง (มื้อต่อมื้อ)โดยปิดฝาภาชนะให้สนิทอย่าให้อากาศเข้าได้
3. การปศุสัตว์
3.1 ใช้อีเอ็ม (EM) หัวเชื้อผสมน้ำสะอาดในอัตราส่วน 1:5000 เท่า (1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำสะอาด 50 ลิตร) ให้สัตว์กินเป็นประจำมูลสัตว์จะไม่มีกลิ่นเหม็น
3.2 ใช้อีเอ็ม (EM) ขยาย ผสมน้ำสะอาดในอัตราส่วน 1:500 เท่า(1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำสะอาด 5 ลิตร) ฉีดพ่นและล้างคอกสัตว์เพื่อกำจัดกลิ่นมูลเก่าได้ภายใน 24 ชั่วโมง
3.2 บำบัดน้ำเสียจากฟาร์มปศุสัตว์ภายใน 1-2 สัปดาห์
4. ด้านสิ่งแวดล้อม
4.1 ใช้อีเอ็ม (EM) ขยาย ใส่ส้วมเพื่อกำจัดกลิ่นและย่อยสลายตะกอน
4.2 ใช้อีเอ็ม (EM) ผสมน้ำอัตราส่วน 1:500 เท่า ฉีดพ่นเป็นฝอยในอาคารบ้านเรือน ปรับอากาศให้สดชื่น กำจัดกลิ่นอับชื้นต่าง ๆ และใช้ ใช้อีเอ็ม (EM) ขยายในอัตราส่วนเดิมทำความสะอาดพื้นห้องน้ำ ห้องส้วม กำจัดกลิ่นคราบสกปรก
4.3 ใช้อีเอ็ม (EM) ขยาย ในอัตราส่วน 1:10,000-20,000 เท่า ฉีดพ่นหรือราดรดน้ำเสียจากการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรมชุมชน และสถานประกอบการทั่ว ๆ ไป ในบ่อบำบัดน้ำเสีย

ผลไม้ต้านสารมะเร็ง

10 ผลไม้ไทยที่มีสารต้านมะเร็งสูง

กรมอนามัยวิจัย 10 ผลไม้ไทย มีสารต้านมะเร็งสูง นางนัทยา จงใจเทศ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากการทำวิจัย “องค์ความรู้เรื่องปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในผลไม้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ (วิตามินซี วิตามินอี และ เบต้าแคโรทีน) ในผลไม้” ที่ทำการศึกษาในผลไม้ 83 ชนิด พบว่า

ผลไม้,ต้านมะเร็ง,ผลไม้ไทย


ผลไม้ 10 อันดับแรกที่มีเบต้าแคโรทีนสูงคือ

1. มะม่วงน้ำดอกไม้สุก
2. มะเขือเทศราชินี
3. มะละกอสุก
4. กล้วยไข่
5. มะม่วงยายกล่ำ
6. มะปรางหวาน
7. แคนตาลูปเนื้อเหลือง
8. มะยงชิด
9. มะม่วงเขียวเสวยสุก
10. สับปะรดภูเก็ต

ผลไม้ทั้งหมดนี้มีเนื้อสีเหลืองและสีเหลืองเข้ม


ส่วนผลไม้ที่ไม่มีเบต้าแคโรทีนเลย

1. แก้วมังกร
2. มะขามเทศ
3. มังคุด
4. ลิ้นจี่
5. สาลี่



10 อันดับแรกของผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงคือ

1. ฝรั่งกลมสาลี่
2. ฝรั่งไร้เมล็ด
3. มะขามป้อม
4. มะขามเทศ
5. เงาะโรงเรียน
6. ลูกพลับ
7. สตรอเบอร์รี่
8. มะละกอสุก
9. ส้มโอขาว
10. แตงกวา
11. พุทราแอปเปิล



การศึกษานี้พบผลไม้ที่มีวิตามินอีสูง 10 อันดับแรกคือ

1. ขนุนหนัง
2. มะขามเทศ
3. มะม่วงเขียวเสวยดิบ
4. มะเขือเทศราชินี
5. มะม่วงเขียวเสวยสุก
6. มะม่วงน้ำดอกไม้สุก
7. มะม่วงยายกล่ำสุก
8. แก้วมังกรเนื้อสีชมพู
9. สตรอเบอร์รี่
10. กล้วยไข่

ผลไม้ที่มีเบต้าแคโรทีน วิตามินซี และวิตามินอีน้อยทั้ง 3 ตัว คือ สาลี่ องุ่น และแอปเปิล

7ผลไม้ไทยใช้เป็นยา































































































































ผลไม้ฤดูหนาว

แตงโม เนื้อฉ่ำน้ำ แก้ร้อนใส ช่วยขับปัสสาวะ


องุ่น อุดมด้วยโพแทสเซียมและ ไบโอฟลาโวนอยด์ช่วยป้องกันมะเร็งและโรคหัวใจ

ส้ม กินทุกวัน ป้องกันหวัด ลดคลอเรสเตอรอลในเลือด ป้องกันมะเร็งไส้ใหญ่

พุทรา ผลสดเนื้อกรอบ มีวิตามินเอและซี

มะขาม ให้พลังงานสูง เนื้อรสเปรี้ยว มีฤทธิ์ระบายและลดความร้อนในร่างกาย

ฝรั่ง มีโพแทสเซียม วิตามินซีและใยอาหาร บำรุงผิวพรรณต้านอนุมูลอิสระ

พลับ มีเบต้าแคโรทินวิตามินซี และ โพแทสเซียมที่เพียงพอต่อร่างกาย

แอ็ปเปิ้ล ลดคลอเรสเตอรอลในเลือด ช่วยย่อยอาหาร มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส

สตรอว์เบอร์รี่ มีแคลเซียม วิตามินเอและซีสูง ช่วยลดความดันโลหิต

สาลี่ ช่วยย่อยอาหาร มีปริมาณเส้นใยทางร่างกายต้องการในแต่ละวันพอเพียง

ผลไม้ฤดูร้อน

ขนุน ให้พลังงานสูงเนื้อสีเหลืองมีเบต้าแคโรทินช่วยต้านอนุมูลอิสระป้องกันมะเร็ง


มะม่วง ผลดิบมีเส้นใยอาหารสูงผลสุกมีวิตามินเอและซี มากช่วยเสริมภูมิคุ้มร่างกาย


ทับทิม กินทั้งเมล็ดได้วิตามินซีและใยอาหารสูง ช่วยลดไข้ บำรุงหัวใจ


ชมพู่ ให้พลังงานต่ำ มีใยอาหาร และวิตามินเอสูง เป็นยาบำรุงหัวใจ


สับปะรด มีใยอาหาร วิตามินซี และแมกนิเซียมสูง มีเอนไซม์ช่วยย่อยเนื้อ


แคนตาลูป เนื้อสีเหลืองมีเบต้าแคโรทินและวิตามินเอ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ


มะเขือเทศ มีโพแทสเซียมสูง ผลสีแดงจากแคโรทินอยด์ ป้องกันมะเร็ง


มะละกอ รสฝาดเฝื่อน มีโปรตีนและวิตามินบีสูง ป้องกันอาการเลือดออกตามไรฟันมะเฟือง อุดมด้วยวิตามินเอ

และซี เสริมกระดูกและฟันให้แข็งแรงเป็นยาขับเสมหะ

สวนดอกไม้เมืองหนาว



ห่างหายไปหลายมื้อ ได้หยุดงานเลยไปเที่ยวจ้า มาเด้อเบิ่งสวนดอกไม้นำกัน
อยู่ทางยุโรปช่วงนี่เข้าหน้าฮ้อนพอดีจ้า ไปเที่ยวกะเทิงฮ้อนเทิงเมื่อย ม่วนอีกพร้อม ดีกว่าไปทำงาน อิอิ
สวนเยสซะปาเฮ้าว์จ้า ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของเดนร์มาก ที่จอดรถกว้างใหญ่คัก
ห่างจากบ้านติ๋ม200กว่าๆกิโลเมตรจ้า
เสียค่าผ่านประตูเข้าเบิ่ง ผู้ใหญ่175โครนน่า เด็กอายุ3-13ปี145โครนน่า...

การจัดสวน

ข่าวสาร ความรู้
จัดสวนเองกันดีกว่า
ประวัติการจัดสวน
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการจัดสวน
ชาวสวนชวนเที่ยว
Link
สินค้าจัดสวน










สวัสดี ครับ... ท่านที่แวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชม website Garden Thai Design ทางทีมงาน ได้ทำการปรับปรุง websiteใหม่โดยนำเสนอผลงานการจัดสวน รวมทั้งความรู้ เทคนิคในการจัดสวน และยังเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับคนรักสวน.....โดยทางทีมงานจะนำเสนอความรู้และ เทคนิคต่างๆ มาให้ได้ศึกษา และท่านที่ต้องการจัดสวน สามารถสอบถามราคา ในการจัดสวนได้ในหน้า ประเมินราคาจัดสวน ครับ

การออกแบบจัดสวน (Garden Design) เป็นการสร้างงานศิลปะ สำหรับผู้ที่เก็บออมซื้อบ้านสักหลัง ไม่ว่าจะเล็ก หรือใหญ่ จะเป็นทาวเฮาส์ หรือคอนโดมิเนียมกลางกรุง ก็เป็นบ้านสำหรับความภูมิใจของ แต่ละคนเป็นสวรรค์ สำหรับการพักผ่อน พื้นที่เล็กๆ สำหรับการจัดสวน จะด้านหน้าหรือด้านข้างของ ตัวบ้านเป็นส่วนที่สร้างความสัมพันธ์กับ จิตใจของผู้อยู่อาศัย จึงนับได้ว่ามีความสำคัญ เป็นสิ่งซึ่งไม่ควรมองข้าม...


อ่านบทสัมภาษณ์ garden thai design จากความรักธรรมชาติสู่อาชีพนักจัดสวน







เป็นการจัด..สวนป่า ฮาลา-บาราที่ บช.ตชด ที่ ถ.พหลโยธิน นี่เองครับ... พื้นที่ในการจัดยาว 20 x กว้าง 6 เมตร

จำลองป่า โดยมีพันธุ์ไม้ พื้นเมือง เช่า ดาหลา ดอกกระทือ ขิงแดงฯ แนวทางเดิน คดเคี้ยว เลียบลำธาร สู่ป่าลึก...เป็น

ที่อยู่ของชนพื้นเมือง เผ่าซาไก...

สวนสวยประจำเดือน...พฤษภาคม 2552

สวนผึ้ง

สวนผึ้ง ขุนเขา แมกไม้ สายธาร ธรรมชาติใกล้กรุงเทพฯ

เที่ยวสวนผึ้ง

สวนผึ้ง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดราชบุรี ดินแดนวัฒนธรรมลุ่มน้ำแม่กลองและสายหมอกแห่งขุนเขาตะนาวศรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางด้านตะวันตกที่มี ภูมิประเทศหลากหลาย จากพื้นที่ที่ราบต่ำ ลุ่มแม่น้ำแม่กลองอันอุดม แหล่งเพาะปลูกพืชผักผลไม้เศรษฐกิจนานาชนิด สู่พื้นที่สูง ทิวเทือกเขาตะนาวศรีทอดตัวยาวทางทิศตะวันตกจรดชายแดนไทย-พม่า มีคำขวัญที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของอำเภอสวนผึ้งว่า "สาวกะเหรื่ยงเคียงถิ่นตะนาวศรี ลำภาชี แก่งส้มแมวแนวหินผา ธารน้ำร้อนบ่อคลึงตรึงติดตา น้ำผึ้งป่า หวานซึ้งตรึงใจ"

อำเภอสวนผึ้ง เดิมเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอจองบึง เรียกว่า ตำบลสวนผึ้ง มีพื้นที่กว้างขวางมากมาย เต็มไปด้วยป่าไม้ ภูเขา การเดินทางไม่สะดวกนัก ทุรกันดาร ผู้คนที่อยู่ในท้องถิ่นนั้นส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายกระเหรื่อง ต่อมารัฐบาลส่งหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่มาพัฒนาตำบลสวนผึ้งแห่งนี้ในด้าน ต่างๆ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2511-2514 ต่อมาวันที่ 15 พฤศจิกายน 2517 อำเภอจอมบึงถูกประกาศแบ่งพื้นที่ โดยกระทรวงมหาดไทยเพื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เรียกว่า กิ่งอำเภอสวนผึ้ง และหลังจากนั้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2526 ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอสวนผึ้ง

สวนสยาม


Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.


บริษัทอมรพันธุ์นคร จำกัด ได้เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยการสนับสนุนจากสถาบันการเงินและนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง ร่วมริเริ่มโครงการ ด้วยการปรับปรุง พื้นที่แปลงใหญ่จำนวนหลายแปลง ซึ่งอยู่ในตำบลในกรุงเทพฯ ที่มีการเจริญเติบโตเร็วที่สุด ซึ่งในเวลานั้นยังเป็นนาข้าวและบางแห่งเป็นที่ๆซึ่งไม่ได้ทำการเพาะปลูก ให้กลายมาเป็นหมู่บ้านจัดสรรขนาดใหญ่ในเนื้อที่ 1,000 ไร่ พร้อมสวนน้ำ สวนสนุก ภายใต้ชื่อ “สวนสยาม ทะเล-กรุงเทพฯ” ในเนื้อที่ 300 ไร่ โดยเล็งเห็นว่าพื้นที่บริเวณดังกล่าว จะมีการพัฒนา และชุมชนจะต้องขยายมา ณ บริเวณแห่งนี้ การเดินทางคมนาคมจะสะดวก รวดเร็ว สามารถเชื่อมโยงกับตัวเมืองได้อย่างสะดวกสบาย นอกจากนั้น กลุ่มผู้ลงทุนยังมีความมั่นใจว่า สวนเอนกประสงค์ในบรรยากาศธรรมชาติจะสนองความต้องการ ในการเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สำหรับประชาชนชาวไทยทั่วประเทศ และนักท่องเที่ยวต่างชาติทั่วโลก ที่มาเที่ยวพักผ่อนในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี

ใน ระยะแรก บริษัทอมรพันธุ์นคร จำกัด ได้แบ่งโครงสร้างออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนบ้านจัดสรร และส่วนสวนสยาม ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2523 สวนสยาม ได้รับการจัดตั้งใหม่ ภายใต้การบริหารงานของบริษัท อมรพันธุ์นคร – สวนสยาม จำกัด เพื่อให้การดำเนินงานของสวนน้ำ สวนสนุกแห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยแห่งนี้ สามารถขยายตัวต่อไปได้อย่างไม่หยุดยั้ง พร้อมเปิดให้บริการเป็นวันแรกเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2523 โดยได้รับความสนใจและการสนับสนุนจากกลุ่มผู้ใช้บริการต่างๆ อย่างกว้างขวาง ภายใต้ชื่อที่ติดปากประชาชนทั่วไปว่า “สวนสยาม ทะเล-กรุงเทพฯ”
ด้วยคำขวัญสั้นๆ ว่า “สวนสยาม…โลกแห่งความสุข สนุกไม่รู้ลืม” บนเนื้อที่กว่า 300 ไร่ ที่สามารถสรรสร้างความสุขสำหรับครอบครัวและหมู่เพื่อนฝูง ให้ได้พักผ่อนอย่างสนุกสนาน ตื่นเต้นกับเครื่องเล่นนานาชนิด หรือความสงบร่มรื่น อบอวลกลิ่นอายธรรมชาติเขียวชอุ่ม ท่ามกลางแมกไม้ เกลียวคลื่น สายลม และแสงแดด
นอกเหนือจากสวนน้ำ อันเป็นบริการเริ่มแรกของสวนสยาม ที่ยังคงความประทับใจและความนิยมได้จนกระทั่งทุกวันนี้แล้ว สวนสยาม ยังถูกสรรสร้างให้กลายเป็นอุทยานเอนกประสงค์ ที่ตรงกับความต้องการของผู้คนทุกเพศทุกวัยในครอบครัว ด้วยบริการต่างๆเหล่านี้

  • สวนสนุก กับเครื่องเล่นมากมายร่วม 30 ชนิดสำหรับทั้งเด็กและผู้ใหญ่
  • สวน สาระที่ให้ความรู้ควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวแสนสนุก การจัดการแสดงอย่างต่อเนื่อง ทั้งการแสดงศิลปวัฒนธรรมของชาติไทย และการแสดงจากต่างประเทศเพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้มีโอกาสชมการแสดงระดับโลกโดยไม่ต้องเดินทางไกล ประหยัดค่าใช้จ่าย และร่วมกิจกรรมกันได้ทั้งครอบครัว ตัวอย่างการแสดงจากต่างชาติ เช่น Hot Ice เสก็ตน้ำแข็งจากประเทศอังกฤษ Cyber Magic การแสดงมายากลสุดตื่นเต้นจากสหรัฐอเมริกา ละครสัตว์จากรัสเซีย และหุ่นโคมไฟจื้อกงจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นต้น
  • นอกจาก นี้ สวนสยามยังมุ่งมั่นในการสร้างเสริมกิจกรรมพิเศษในด้านสังคม และการศึกษา โดยเปิดโอกาสให้โรงเรียนต่างๆ เดินทางมาทัศนศึกษาเป็นหมู่คณะ พร้อมจัดสร้างบริเวณให้เป็นสัดส่วนสำหรับการเข้าค่ายลูกเสือ ประกอบด้วยฐานผจญภัย ที่พักแรม โดยสถาบันการศึกษาต่างๆ สามารถมาใช้บริการได้ในราคาประหยัด และยังสามารถจัดงานเลี้ยงสังสรรค์สำหรับงานครอบครัว และการจัดสัมมนา ฝึกอบรมให้กับบริษัท ห้างร้าน หน่วยงานต่างๆ ได้อีกด้วย

สวนสยาม ทะเล-กรุงเทพฯ ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยนอกเหนือจากการเป็นอุทยานเอนกประสงค์เพื่อให้คนไทยได้มีโอกาสพักผ่อนร่วม กัน โดยประหยัดค่าใช้จ่าย และเป็นการหมุนเวียนกระจายรายได้ในท้องถิ่นแล้ว สวนสยาม ทะเล-กรุงเทพฯ ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของประเทศไทย อันจะช่วยชักจูงนักท่องเที่ยวต่างชาติให้มาเที่ยวประเทศไทย และช่วยสร้างรายได้ให้แก่ประเทศอีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2550-2553 นับเป็นช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่และการเติบโตก้าวที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของสวน สยาม ทะเล-กรุงเทพฯ ด้วยการนำเข้าและติดตั้งเครื่องเล่นระดับโลก ด้วยงบประมาณลงทุนกว่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งทำให้สวนสยาม ทะเล-กรุงเทพฯ ผงาดขึ้นเป็นสวนพักผ่อนหย่อนใจ สวนน้ำ สวนสนุกที่สมบูรณ์แบบที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยเครื่องเล่นชั้นนำจำนวนกว่า 30 รายการ และทะเลเทียมที่ใหญ่ที่สุดในโลก รับรองโดย กินเนสส์ เวิลด์ เรคคอร์ดส พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น “สยามพาร์คซิตี้“ เพื่อให้สอดคล้องกับภาพลักษณ์ความเป็นสากล และความสมบูรณ์ครบถ้วนของผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ที่มีความหลากหลายและคุณภาพสูงที่สุดในภูมิภาค นับเป็นความภาคภูมิและเป็นทรัพยากรทางการท่องเที่ยวที่มีค่าของประเทศไทย สิ่งต่างๆ ที่สวนสยามได้ดำเนินงานมาตลอดตั้งแต่ปี 2523 จนถึงปัจจุบัน นำมาซึ่งความภูมิใจที่มีส่วนช่วยเหลือประเทศชาติทั้งในด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา เพื่อก่อให้เกิดความสุขแก่ผู้ใช้บริการทุกท่าน